ไทใหญ่ หรือ ฉาน  คือกลุ่มชาติพันธุ์ในตระกูลภาษาไท-กะได ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ขนาดใหญ่อันดับสองของพม่า ส่วนมากอาศัยในรัฐฉาน สหภาพพม่าและบางส่วนอาศัยอยู่บริเวณดอยไตแลง ชายแดนประเทศไทย-สหภาพพม่า คนไทใหญ่ในสหภาพพม่ามีประมาณ 3 หรือ 4 ล้านคน แต่มีไทใหญ่หลายแสนคน ที่ได้อพยพเข้าสู่ประเทศไทยเพื่อหนีปัญหาทางการเมืองและการหางาน ตามภาษาของเขาเองจะเรียกตัวเอง ไต หรือ ไต (ตามสำเนียงไทย) พี่น้องไตในพม่ามีหลายกลุ่ม เช่น ไตขืน ไตแหลง ไตคัมตี ไตลื้อ และ ไตมาว แต่กลุ่มใหญ่ที่สุดคือ ไตโหลง ไต = ไท และ โหลง (หลวง) = ใหญ่ ซึ่งคนไทยเรียก ไทใหญ่ เหตุฉะนั้นจะเห็นได้ว่าภาษาไต และภาษาไทยคล้ายกันบ้างแต่ไม่เหมือนกัน นอกจากนี้ยังมีคำเรียกไทใหญ่อีกอย่างว่า เงี้ยว แต่เป็นคำที่ไม่สุภาพในการเอ่ยถึงชาวไทใหญ่

ชาวไทใหญ่ถือวันที่ 7 กุมภาพันธ์ เป็นวันชาติ

เมืองหลวงของรัฐฉานคือ ตองยี ซึ่งเป็นเมืองเล็กๆมีประชากรประมาณ 150,000 คน ส่วนเมืองสำคัญอื่นๆ ได้แก่ สีป้อ ล่าเสี้ยว เชียงตุง และท่าขี้เหล็ก

เชื้อชาติ

ชาวไทใหญ่ทั้งหมดสามมารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มดังนี้ (ส่วนนี้น่าจะผิดนะ คนลื้อ-สิบสองพันนา บอกว่าตนเป็นชาวลื้อ, คนเขิน-เชียงตุง ก็บอกว่าตนเป็นชาวเขิน/ขึน ไม่ใช่คนไทใหญ่ แต่ถ้าจะอธิบายถึงชาติพันธ์ไท(ย)ที่อยู่ในเขตสหภาพพม่าและจีน หรือพื้นที่ที่ชาวไทใหญ่อยู่อาศัย

  1. ชาวไทใหญ่ หรือไทหลวง(ไตโหลง)

  2. ชาวไทลื้อ มีถิ่นฐานอยู่ในแคว้นสิบสองปันนาของประเทศจีน และทางตะวันออกของรัฐฉาน

  3. ชาวไทเขิน(ไตขึน) เป็นประชากรส่วนใหญ่ของเมืองเชียงตุง

  4. ชาวไทเหนือ(ไตเหลอ) อาศัยอยู่ในแค้วนใต้คง(เต้อหง) ของประเทศจีน

อิทธิพลของพม่า

ในประวัติศาสตร์ไทใหญ่เต็มไปด้วยเรื่องราวสงคราม และประวัติศาสตร์ระยะใกล้ก็ถูกพม่ากดไว้ จนการเรียนประวัติศาสตร์ของชาวไทใหญ่กลายเป็นวิชาต้องห้ามการเรียนประวัติศาสตร์ของชาวไทใหญ่เป็นเรื่องต้องห้ามตั้งแต่สมัยอังกฤษปกครอง โดยไม่ยอมให้วิชาประวัติศาสตร์เป็นวิชาบังคับ เมื่อพม่ากลับมามีอำนาจเหนือดินแดนรัฐฉานจึงสืบทอดเรื่องนี้ต่อไป ชาวไทใหญ่ต้องเรียนภาษาพม่า เรียนทุกวิชาเป็นภาษาพม่า แม้ผู้ที่ไม่ได้โรงเรียน เข้าวัด แต่ระเบียบพิธี และพิธีกรรมต่างๆ เป็นแบบพม่า และใช้ภาษาพม่าทั้งหมด อิทธิพลทางวัฒนธรรมของพม่าในไทใหญ่จึงมีมาก ซึ่งเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ด้วย โดยอิทธิพลทางวัฒนธรรมของพม่ายังเป็นสิ่งสืบเนื่องจากทางการเมืองอีกด้วย กล่าวคือเมื่อพม่าเป็นใหญ่ขึ้นมาก็จะเกณฑ์ให้เจ้าฟ้าไทใหญ่ส่งลูกสาวและลูกชายไปเมืองหลวงพม่า เจ้าหญิงเจ้าชายเหล่านี้จึงได้รับวัฒนธรรมพม่ามาอย่างไม่รู้ตัว และนำกลับมาเผยแพร่แก่ประชาชนไทใหญ่ในรูปแบบของภาษา ดนตรี นาฏศิลป์ และขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ เช่น เกิดความนิยมว่า วรรณคดีที่ไพเราะซาบซึ้งควรมีคำพม่าผูกผสมผสานกับคำไท ความเป็นพม่าจึงครอบกรอบสังคมไทใหญ่

ภาษา

แม้ภาษาไทใหญ่รัฐฉานที่อนุญาตให้สอนในอดีตนั้น ภาษาไทใหญ่เป็นเพียงวิชาเลือก มีการเรียนแต่ไม่มีการสอบ ถึงมีการสอบก็ไม่มีการเอาคะแนนไปสะสมแต่ว่าไทใหญ่ก็จะเดือดร้อนมาก เพราะใช้ภาษาของตนเองไม่ได้เต็มที่ การเรียนหนังสือก็เรียนภาษาพม่าซึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่งซึ่งไม่คล้ายคลึงกันมาก การเรียนรู้ให้ดีทั้งสองภาษาจึงเป็นไปได้ยาก และเพราะเหตุที่ชาวไทใหญ่ละเลยภาษาของตนเองมานานนี้เอง การดำรงความเป็นปึกแผ่นในชาติไทใหญ่จึงเป็นไปได้ยาก เจ้าขุนสาม ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายวัฒนธรรมรัฐฉานในอดีต เคยออกสำรวจคนไทในพม่า พบว่ามีคนไทใหญ่พูดภาษาไทใหญ่มากมายหลายแห่ง แต่ไม่ได้จำนวนที่แน่นอน เพราะคนไทเหล่านั้นจะเรียกตนเองว่าเป็นพม่า พูดภาษาพม่า แต่งกายเป็นพม่า แต่งตัวเป็นพม่า จนกว่าจะไปถึงบ้าน จึงสามารถรู้ได้ว่าพวกเขารักษาภาษา และวัฒนธรรมไทใหญ่ไว้ได้แค่ไหน

Advertising Zone    Close
 
Online:  1
Visits:  7,474
Today:  12
PageView/Month:  36

ยังไม่ได้ลงทะเบียน

เว็บไซต์นี้ยังไม่ได้ลงทะเบียนยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์กับ Siam2Web.com